BANGKOK LAW เคียงคู่สู่ความสำเร็จ

bangkoklawtutor facebook icon      bangkoklawtutor ig icon      bangkoklawtutor twitter icon      bangkoklawtutor youtube icon

งานราชการ
6 คำถามที่ต้องเจอในวันสอบสัมภาษณ์

ปรับปรุงล่าสุด, 28 เมษายน 2562



อาชีพที่รับวุฒิเนติบัณฑิต

×
คำถามที่ต้องเจอในวันสอบสัมภาษณ์


เมื่อเราสอบผ่านข้อเขียนแล้ว
ด่านต่อไปที่เราจะเจอคือการสอบสัมภาษณ์


ซึ่งการสอบสัมภาษณ์ มี 2 ลักษณะ
ลักษณะแรก : oral test หรือ oral examination แปลว่า การทดสอบปากเปล่า หรือการตอบข้อสอบด้วยปากเปล่า (แทนการตอบข้อสอบด้วยการเขียนคำตอบในกระดาษ)
ลักษณะที่สอง : interview แปลว่า การสัมภาษณ์ ,การสนทนา ,การเจรจา ,การไต่ถาม

การสอบสัมภาษณ์ในลักษณะแรก เราจะเห็นได้จากการสอบปากเปล่าเนติบัณฑิต การสอบปากเปล่าสอบใบอนุญาตให้เป็นทนายความ (ตั๋วทนาย) รวมถึงการสอบเข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ เช่น พนักงานคดีปกครอง อัยการผู้ช่วย ผู้ช่วยผู้พิพากษา ตุลาการประจำศาลปกครองชั้นต้น โดยคำถามจะเป็นเนื้อหากฎหมาย คล้ายกับการสอบข้อเขียน เพียงแต่เราต้องตอบคำถามด้วยวาจาต่อหน้ากรรมการสอบ แทนการตอบคำถามด้วยการเขียนตอบ และอาจจะมีการสอบสัมภาษณ์ในลักษณะที่สองประกอบด้วย ส่วนการสอบสัมภาษณ์ในลักษณะที่สอง จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ในเชิงการสนนทนา เจรจา ไต่ถาม เรื่องทั่วๆไป เช่นประวัติการศึกษา ประวัติครอบครัว ทัศนคติ ปฏิภาณไหวพริบ การทำงานร่วมกับคนอื่น โดยจะไม่มีคำถามที่เป็นเนื้อหากฎหมายมาถามเหมือนการสอบปากเปล่า
ซึ่งโดยปกติแล้ว คำถามที่จะเจอในวันสัมภาษณ์จะมีดังนี้



1. ถามเรื่องส่วนตัว

คำถามนี้จะพบในการสอบสัมภาษณ์ทั้งสองลักษณะ แน่นอนว่าเมื่อเราเข้าไปอยู่ต่อหน้ากรรมการสอบสัมภาษณ์ คำถามแรกที่เราจะเจอคือ “ให้แนะนำตัวเอง” ฉะนั้น นี่เป็นคำถามพื้นฐานที่ห้ามตอบผิดโดยเด็ดขาด!!!เพราะบางคนเมื่ออยู่ต่อหน้ากรรมการสอบสัมภาษณ์แล้วจะประหม่า ตื่นเต้น และสั่นไปหมด จำไม่ได้แม้กระทั่งชื่อตัวเอง!!! ทางแก้คือหายใจลึกๆ พยายามตั้งสติ ที่สำคัญอย่าลืมชื่อตัวเองเด็ดขาดนะครับ 555



2. ถามหาพ่อแม่

อันนี้ไม่ได้กวนนะครับ กรรมการอาจจะถามหาพ่อ หาแม่ ของเราจริงๆ หลายคนงงว่า ทำไมต้องถาม? อาจจะเป็นเรื่องสืบเนื่องจากคำถามแรก หากกรรมการเห็นว่าเรายังประหม่า เสียงสั่น ก็จะชวนคุยเรื่องส่วนตัว เพื่อลดอาการประหม่าของเราครับ



3. ถามหาอะไร

หากผ่านคำถามมา 2 คำถามแล้ว กรรมการเห็นว่า เรายังมีความประหม่า เสียงสั่น ก็จะมีคำถามอยู่อีกประเภทหนึ่ง ที่เราฟังแล้วอาจจะเกิดความสงสัยว่า กรรมการจะถามหา ... อะไรครับ ??? เช่น "ชื่อแปลว่าอะไร?", "ใครเป็นคนตั้งชื่อให้?" เหล่านี้ ให้เรารับรู้และรีบตั้งสติให้ได้โดยเร็วที่สุดนะครับ เพราะหลุดจากคำถามนี้ไป หากยังตั้งสติไม่ได้ กรรมการอาจจะเชิญกลับบ้านเลยก็ได้ แต่หากเป็นการสอบปากเปล่าเนติบัณฑิต หรือสอบปากเปล่าใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ก็อาจจะต้องเข้าไปตั้งสติที่ “ห้องเย็น” อย่างโดดเดี่ยวเดียวดายได้ นะครับ



4. ถามชวนผ่อนคลาย

คำถามที่สี่นี้ เป็นการสัมภาษณ์ หรือ interview จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ในลักษณะการสนนทนา เจรจา ไต่ถาม เรื่องทั่วๆ ไป โดยปกติกรรมการจะชวนพูดคุย โดยมีเป้าหมายที่จะวัดผลในเรื่อง พื้นฐานความคิด ทัศนคติ ปฏิภาณไหวพริบ การทำงานร่วมกับคนอื่นได้หรือไม่ พูดจารู้เรื่องหรือไม่ เป็นต้น



5. ถามหาความรู้

คำถามข้อนี้คือการสอบปากเปล่า หรือการตอบข้อสอบด้วยปาก หรือ oral test ซึ่งเราต้องเตรียมตัวมากพอๆ กับการเตรียมสอบข้อเขียน และที่สำคัญเราต้องฝึกวิธีการพรีเซนท์ด้วยปากเปล่า เพื่อให้กรรมการเข้าใจในคำตอบด้วยปากเปล่าของเราด้วยครับ



6. ดูความสวยหล่อ

ข้อสุดท้ายไม่ใช่คำถาม แต่เป็นบุคลิกและภาพลักษณ์ภายนอกครับ คือควรแต่งกายให้สุภาพ เสื้อผ้า หน้าผม ให้ดูเรียบร้อย มีมารยาทไทย ไปก็ลา มาก็ไหว้ มีความนอบน้อม



"แค่นี้ กรรมการสัมภาษณ์ก็ให้ผ่านสอบสัมภาษณ์ทุกคนแล้ว ที่เหลือก็ดูคะแนนข้อเขียนครับ"